วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

FIBER OPTICS TO THE HOME (FTTH)

FIBER OPTICS TO THE HOME (FTTH)

การสื่อสารในปัจจุปันไม่ได้หยุดอยู่ที่การสื่อสารทางเสียงและข้อมูลเท่านั้น แต่มุ่งเน้นไปที่การสื่อสารในรูปแบบ Multimedia นอกจากนี้แนวโน้มของเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมุ่งไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Convergence คือการหลอมรวมทางเทคโนโลยี ได้แก่ด้าน Telecom,Computer/IT และBroadcasting สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภค สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตมีบทบาทกับชีวิตประจำวัน มากขึ้นและใช้งานกันอย่างกว้างขวาง
จากที่กล่าวมาข้างจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าขาดองค์ประกอบที่สำคัญคือ ระบบ Transmission คือ เส้นทางการส่งข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายประเภทได้แก่ Optical Fiber network,Microwave system,Satellite system,Copper และ Laser Communications.

Fiber Optic เปรียบเสมือนเส้นทางหรือถนนระดับ superhighway ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการส่งข้อมูลที่ต้องการ bandwidth ขนาดใหญ่เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว.ปัจจุบัน Fiber Optic มีบทบาทอย่างสูงสำหรับการวางโครงข่ายพื้นฐาน(Infrastructure)ของระบบโครง ข่ายโทรคมนาคม. บริษัทผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมส่วนใหญ่วางโครงข่าย Fiber Optic เพื่อใช้เป็น backbone network สำหรับเชื่อมต่อระหว่าง Node ขององค์กรเอง และเชื่อมต่อกับลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความต้องการใช้ระบบสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านของคุณภาพและบริการ เช่น กลุ่มธุรกิจการเงินการธนาคาร,บริษัทภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่

เส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber Optic Cable)

หลักการทั่วไปของการสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติกคือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล) ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน จากนั้นจึงส่งออกไปเป็นพัลส์ของแสงผ่านสายไฟเบอร์ออปติกสายไฟเบอร์ออปติกทำ จากแก้วหรือพลาสติกสามารถส่งลำแสง ผ่านสายได้ทีละหลาย ๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้นจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึง ปลายทาง

จากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณอนาล็อกหรือดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อน จากนั้นจะส่งสัญญาณมอดูเลตผ่านตัวไดโอดซึ่งมี 2 ชนิดคือ LED ไดโอด (light Emitting Diode) และเลเซอร์ไดโอด หรือ ILD ไดโอด (Injection Leser Diode) ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสง ในย่านที่มองเห็นได้ หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟราเรดซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ ความถี่ย่านอินฟราเรดที่ใช้จะอยู่ในช่วง 1014-1015 เฮิรตซ์ ลำแสงจะถูกส่งออกไปตามสายไฟเบอร์ออปติก เมื่อถึงปลายทางก็จะมีตัวโฟโต้ไดโอด (Photo Diode) ที่ทำหน้าที่รับลำแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็นสัญญาณ มอดูเลตตามเดิม จากนั้นก็จะส่งสัญญาณผ่านเข้าอุปกรณ์ดีมอดูเลต เพื่อทำการดีมอดูเลตสัญญาณมอดูเลตให้เหลือแต่สัญญาณข้อมูลที่ต้องการ

สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีแบนด์วิดท์ (BW) ได้กว้างถึง 3 จิกะเฮิรตซ์ และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 1 จิกะบิตต่อวินาที ภายในระยะทาง 100 กม. โดยไม่ต้องการเครื่องทบทวนสัญญาณเลย สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีช่องทางสื่อสารได้มากถึง 20,000-60,000 ช่องทาง สำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ ไม่เกิน 10 กม. จะสามารถมีช่องทางได้มากถึง 100,000 ช่องทางทีเดียว ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก คือประมาณ 1 ใน 10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000 ครั้ง เท่านั้น ทั้งยังป้องกันการรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้โดยสิ้นเชิง

ข้อจำกัด
1. ราคา ทั้งสายไฟเบอร์ออปติกและอุปกรณ์ประกอบการทั้งหลายมีราคาสูงกว่าการส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลธรรมดามาก
2. อุปกรณ์พิเศษสำหรับการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง และจากคลื่นแสงกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า และเครื่องทวนสัญญาณ อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งมีความซับซ้อน และราคาแพงมาก
3. เทคนิคในการติดตั้งระบบ เนื่องจากสายไฟเบอร์ออปติกมีความแข็งแต่เปราะจึงยากต่อการเดินสายไฟตามที่ ต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งการเชื่อมต่อระหว่างสายก็ทำได้ยากมาก เพราะต้องระวังไม่ได้เกิดการหักเห

ในปัจุบันมีการใช้งาน Internet กันอย่างกว้างขวางจากการใช้งานที่จำกัดอยู่ในที่ทำงานได้ขยายความต้องการ ใช้งานในที่บ้านมากขึ้น มีการติดตั้งวงจรเพื่อใช้งานจากที่บ้านมากขึ้น นอกจากนี้ในอนาคตรูปแบบการใช้งานยังขยายเข้าสู่ Multimedia มากขึ้น เช่น IP-TV,Telepresence,Video on demand,IP Phone. ในอดีตการใช้งานเมื่อต้องการเชื่อมต่อจะใช้ผ่าน Modem และคู่สายทองแดงของระบบโทรศัพท์ ที่ได้ความเร็วเพียง 56Kbps ต่อมามีการพัฒนาทางเทคโนโลยีนำไปสู่การใช้งานที่เร็วยิ่งขึ้นได้แก่ digital subscriber line (DSL) เช่น ADSL และ cable modem

Optics to the home (FTTH) คือเทคโนโลยีที่นำข้อมูล ข่าวสารต่างๆขนาดมหาศาลมาถึงบ้านผู้ใช้บริการ ด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีขนาดเล็กและเบาแต่สามารถส่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้ อย่างรวดเร็วด้วยคุณภาพที่สูง

แนวคิดด้าน Fiber Optics to the home (FTTH) มีการกล่าวถึงกันมานานแล้ว มีหลายบริษัทที่มีความพยายามนำแนวคิดนี้นำมาให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าราย เล็กๆโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าตามบ้านพักอาศัยที่เป็นโฮมยูสเซอร์ทั่วไปโดยเฉพาะ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ที่มีการวางระบบเครือข่าย Fiber Optic เพื่อให้บริการในรูปแบบ FTTH เช่นบริษัท BellSouth มีการวางสายFiber เข้าไปที่เขต Dunwoody ใน Atlanta ประมาณ 400 หลัง.Futureway บริษัทที่ให้บริการด้านโทรคมนาคมของแคนนาดาเริ่มมีการสร้างระบบเชื่อมต่อ Fiber เข้าสู่ตามที่พักอาศัยแล้วในเมือง Toronto.ในด้านผู้ผลิตอุปกรณ์(Supplier)ในด้านนี้อย่าง Optical Solution มีอัตราการเติบโตที่ดีมียอดขายอุปกรณ์ด้าน Fiber เพิ่มมากขึ้น สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเสมือนแนวโน้มและทิศทางที่ดีของการใช้งานด้าน Fiber Optics to the home แต่เมื่อมองดูความต้องการการใช้งานในตลาดจากผู้บริโภคปรากฏว่ามีการขยายตัว น้อยมาก

เมื่อพิจารณาทางด้านเทคโนโลยีแล้ว ไม่น่าจะมีอุปสรรคในด้านการให้บริการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า Fiber Optic มีการใช้งานมานานแล้วอย่างแพร่หลายในด้านของระบบโครงข่ายดังนั้นสิ่งที่เป็น อุปสรรคของการเติบโตของ FTTH น่าจะมาจากปัจจัยด้านอื่น ดังต่อไปนี้

• งบประมาณการลงทุนด้านการวางโครงข่าย Fiber Optics
• ความต้องการการใช้งานของผู้บริโภคที่แท้จริง
• การแข่งขันกับรายเก่าในตลาด งบประมาณการลงทุนด้านการวางโครงข่าย Fiber Optics

ที่ผ่านมามีหลายบริษัทและหลายประเทศที่มีการทดลองในการให้บริการด้าน FTTH เช่น ญี่ปุ่น แคนนาดา ฝรั่งเศส ซึ่งการทดลองสะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนในการสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่ว พื้นที่ในการให้บริการนั้นต้องใช้เงินในการลงทุนสูงมาก เนื่องจากราคาของ Fiber ยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับราคาของสาย Copper ในปัจจุบัน ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องงบประมาณด้านการลงทุนของ Fiber network. ประเด็นคือการใช้ Fiber Optic ในรูปแบบของ Fiber Optics to the business(FTTB) ที่ปัจจุปันมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ แต่ขนาดของตลาดก็ยังไม่ใหญ่พอที่จะทำให้ราคาของ Fiber Optic ลดลงมากนัก ดังนั้นในอนาคตการเติบโตของ Fiber Optics to the business(FTTB) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย สิ่งที่ตามมาคือ ราคาของ Fiber Optic และอุปกรณ์ จะมีราคาลดลง ปัจจัยนี้น่าจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ต้นทุนในการให้บริการในโครงข่ายของ FTTH ลดลงด้วย อีกประเด็นหนึ่งคือปัญหาด้านการวางโครงข่ายใหม่เข้าไปในย่านพักอาศัยมักจะมี อุสรรคจากการขุดถนนเพื่อวางแนว Fiber ที่มักจะทับซ้อนกับระบบไฟฟ้าและระบบสาย copper ปัญหานี้ก่อให้เกิดต้นทุนสูงในการก่อสร้างอีกด้วย

ความต้องการการใช้งานของผู้บริโภคที่แท้จริง
ในปัจจุบันการใช้งานด้านการสื่อสารมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การใช้งานด้าน Internet, TV on demand,Video conference การ access จากที่บ้านหรือที่พักอาศัยเข้าสู่โครงข่ายการให้บริการมีอยู่หลายเทคโนโลยี หลักๆได้แก่
• Digital subscriber line(DSL) เช่น ADSL เป็นเทคโนโลยีของการประยุกต์สาย Copper ของระบบโทรศัพท์มาใช้ประโยชน์ในการรับส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถส่งข้อมูลสูงสุด 8 Mbps
• Leased Line เป็นอีกเทคโนโลยีที่ใช้สาย Copper มาใช้ในการรับส่งข้อมูลสามารถส่งข้อมูลได้อื่น ด้วยความเร็วตั้งแต่ 9.6k,64k,128k จนถึง 2Mbps
• Cable modem ใช้สาย Coaxial เป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลประมาณ 2-3 Mbps

เมื่อพิจารณาการเลือกใช้งานด้านเทคโนโลยีของผู้บริโภคในปัจจุบันเพื่อเข้าไป Access ข้อมูลจากระบบสามารถสร้างความพอใจได้ในระดับหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ Modemในการเชื่อมต่อที่ให้ความเร็วเพียง 56 Kbps เมื่อมองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคในเรื่องของการใช้งานแน่นอนว่าใน อนาคตความจำเป็นในการ Access จากที่พักอาศัยเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้นเนื่องจากการให้บริการ Multimedia ที่จะเกิด ดังนั้นความต้องการในเรื่องความเร็วในการรับส่งเป็นเรื่องที่ผู้ใช้งาน ต้องการมากขึ้น.ประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีของ Fiber Optic แบบ FTTH สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 100-1000 Mbps น่าจะตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อมองปัจจัยด้านราคาค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเทคโนโลยี ที่ใช้อยู่มาเป็น FTTH นั้นก็เป็นอุปสรรคเช่นกันที่ผู้ใช้งานจะยอมลงทุน ส่วนใหญ่อาจจะมองว่าเทคโนโลยีเก่าที่ใช้อยู่น่าจะเหมาะสมกว่าเมื่อเทียบ ระหว่างค่าใช้จ่ายกับความต้องการของการใช้งาน

การแข่งขันกับรายเก่าในตลาด

ปัจจุบันผู้ให้บริการด้านโครงข่ายมากมายทั้งแบบ Wireline และ Wireless ที่สามารถสร้างวงจรการใช้งานเข้าไปสู่การใช้งานภายในบ้านพักอาศัย การที่ผู้ให้บริการด้าน FTTH จะเข้ามาแข่งขันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักมีหลายปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการ แข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดกับผู้ให้บริการรายเดิมที่ให้บริการอยู่เช่น ด้านการลงทุนโครงข่ายที่ต้องใช้เวลาและเงินลงทุนที่สูงในขณะที่ผู้ให้บริการ รายเดิมมีการวางโครงสร้างไว้แล้วสิ่งนี้จะสะท้อนให้เห็นได้ในเรื่องของราคา การให้บริการ มีการแข่งขันกันด้านราคา หรือเกิดจากผู้ให้บริการรายเดิมที่ให้บริการโครงข่ายเก่าอยู่และมีแนวคิดที่ จะให้บริการด้าน FTTH อาจจะเกิดความลังเลในการให้บริการเนื่องจากมีการลงทุนในระบบเก่าไปแล้วแต่ ยังไม่สร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากลับมา

จากรายละเอียดที่กล่าวมาพอจะเห็นภาพได้ว่า Fiber Optics to home มีข้อจำกัดอยู่หลายด้านในการผลักดันระบบโครงข่ายให้เกิดการใช้งานกันอย่าง แพร่หลายอย่างรวดเร็วในสถานการณ์ปัจจุปัน แต่ในอนาคตนั้นบททางของการใช้ FTTH น่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนจากแรงผลักดันต่อไปนี้

Technology Push : มีการร่วมมือกันของบริษัทชั้นนำของโลก เช่น British Telecom , BellSouth , France Telecom , Nippon Telegraph and Telecom และ GTE เพื่อผลักดันมาตราฐานระบบ Full Service Access Network (FSAN). FSAN ได้รับการยอมรับจาก ITU ในด้านการให้บริการด้านระบบการใช้งานด้าน Fiber to Home and Business สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ มีการออกแบบระบบ Passive optical network ซึ่งระบบนี้นำไปสู่การลดต้นทุนของการให้บริการได้ไม่ว่าจะป็นด้านอุปกรณ์ การติดตั้ง และการดูแลรักษา ซึ่งบริษัทที่มีการพัฒนามาตราฐาน FSAN อย่าง Lucent , NEC , British Telecom , BellSouth ได้ทำการพัฒนาระบบและตัวอุปกรณ์เพื่อนำไปสู่การการให้บริการ. นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุปกรณ์ปลายทางที่ใช้สำหรับติดตั้ง ภายในบ้าน เรียกว่า Triplexer เป็นวงจรที่ผสมผสานระหว่าง electrical และ optical องค์ประกอบและโครงสร้างได้แก่ waveguides และ filters ทำหน้าที่ส่งข้อมูลและแยก photons ออกเป็นwavelengthและ planar lightwave circuit (PLC) เป็นอุปกรณ์คล้ายกับ Triplexer เช่นกัน. สิ่งเหล่านี้คือแรงผลักดันของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่จะทำให้ Fiber Optics to home เกิดขึ้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

Market Pull : ระบบ Internet ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งด้านการทำงานและความบันเทิง การให้บริการ IP-TV , Video on demand และการบริการอีกมากมายในอนาคต เมื่อทั้งหมดมีความต้องการใช้งานจากที่บ้านพักอาศัย โดยเฉพาะครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีความต้องการใช้งานแตกต่างกัน สิ่งนี้จึงสะท้อนไปที่การต้องการของประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อโครงข่ายและ ความต้องการ bandwidth ขนาดใหญ่ในการรับส่งข้อมูลซึ่งความต้องการนี้ก็เป็นอีกแรงผลักดันที่จะทำให้ Fiber Optics to home เกิดขึ้นได้

สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันได้เริ่มมีผู้ให้บริการด้าน Fiber Optics to home บ้างแล้ว คือบริษัทฟรีอินเตอร์เน็ท จำกัด ที่ร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีกับบริษัทในประเทศออสเตรเรีย ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งกันและกันเพื่อพัฒนาการสื่อสารด้าน โทรคมนาคมนอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านคร หลวงในด้านการวางโครงข่ายสายไฟเบอร์

สำหรับการไฟ้ฟ้านครหลวงมีการเปิดให้การในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรีและสมุทรปราการ

ส่วนการไฟฟ้าส่วนภุมิภาคมีการเปิดทดลองใช้ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต และ สมุย

ส่วนรูปแบบการให้บริการมี 3 บริการประกอบด้วย ระบบโทรศัพท์ โทรทัศน์แบบอินเตอร์แอ็กทีฟทีวี และอินเตอร์เน็ทความเร็วสูงระดับ 100 Mbps

เทคโนโลยี ทางด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ นับว่ามีความสำคัญต่อสังคมไทยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับประเทศ วันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พสุ แก้วปลั่ง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะพาท่านไปรู้จักกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่จะทำให้ท่านต้องตั้ง ตาคอยการมาถึงของมันเลยทีเดียว

“โดยส่วนตัวผมทำงานวิจัยเกี่ยวกับระบบ Fiberoptic คือระบบสื่อสารผ่านเส้นใยแสง สมัยเรียนปริญญาเอกก็จะเน้นไปที่ระบบทางไกล เช่น โยงใต้ทะเลเป็นหลายพันกิโลเมตร ว่าจะทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลเร็วขึ้นได้ยังไง หรือถ้ากำหนดความเร็วแล้วจะทำให้มันไปได้ไกลขึ้นได้อย่างไร แต่พอเข้ามาเป็นอาจารย์ที่คณะวิศวฯ จุฬาฯ ก็ได้ศึกษาและทำการวิจัยในหลายๆ ระดับ ตั้งแต่โครงข่ายระดับ Fiber-optic ใหญ่เชื่อมโยงระหว่างเมืองจนถึงระดับ Access ซึ่งหนึ่งในโครงข่าย Fiber-optic ระดับ Access ที่ให้ความเร็วสูงสุดเท่าที่มีในปัจจุบันนั่นก็คือ Fiber to the Home (FTTH)”

  • เทคโนโลยีที่เรียกว่า Fiber to the Home นี้มีความสำคัญอย่างไร
  • “ปัจจุบันที่เราใช้โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือใช้อินเตอร์เน็ต ก็เป็นการใช้ผ่านระบบสื่อสาร แต่ระบบของแต่ละอันก็แยกจากกัน ซึ่งข้อมูลแต่ละระบบก็มีความแตกต่างกัน แต่ในอนาคตเราจะพยายามโยงทุกระบบให้มาอยู่ในลักษณะข้อมูลเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ หรืออินเตอร์เน็ต จะมาอยู่ในรูปแบบข้อมูลของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งหมด ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกัน เช่น Voice over IP IPTV และโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 (Mobile IP) เป็นต้น”

    “นอกจากบริการที่เราเห็นกันทั่วไปแล้ว ในอนาคตเราพยายามจะทำให้ระบบทุกอย่าง เครื่องมือทุกอย่าง อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถสื่อสารข้อมูลได้ด้วยตัวมันเอง เช่น บ้านเราอาจจะติดเซนเซอร์ตามที่ต่างๆ เช่น ที่ขอบประตู เก้าอี้ ตู้เย็น ฯลฯ ก็จะสามารถสื่อสารข้อมูลได้ เช่นเราอยู่นอกบ้านเราสามารถดูผ่านมือถือได้ว่าหน้าต่างบานนั้นล๊อคหรือยัง สามารถตรวจสอบได้หมด นั่นคือจากบ้านเราสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้วส่งข้อมูลมา เข้ามือถือเรา หรือสั่งอัดวีดีโอผ่านมือถือได้ หรือเช็คของในตู้เย็นได้เช่น นมหรือไข่หมดหรือยังเป็นต้น”

    “เมื่อทุกอย่างสามารถสื่อสารข้อมูลได้ โครงข่ายหรือระบบสื่อสารที่ใช้ต้องรับข้อมูลปริมาณมหาศาล อย่างปัจจุบันแค่อินเตอร์เน็ตอย่างเดียวเรายังรู้สึกว่าระบบช้า ถ้าเกิดทุกอย่างสื่อสารหมดแม้แต่ประตูหน้าต่างก็สามารถส่งข้อมูลได้ก็จะยิ่ง มีปริมาณข้อมูลมหาศาล โครงข่ายที่ใช้ต้องรองรับข้อมูลปริมาณมากเหล่านั้นได้ ซึ่งระบบที่จะสามารถรองรับได้ก็คงต้องเป็นระบบเส้นใยแสงหรือ Fiber-optic ซึ่งปัจจุบันก็นำมาใช้กันแล้วอย่างโครงข่ายใต้ทะเล รวมทั้งโครงข่ายในเมืองก็เป็น Fiber-optic ดังนั้นในการที่จะให้ข้อมูลสื่อสารออกจากบ้านได้ทุกคน และมีความเร็วสูงตามที่ต้องการ ต้องมีตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว ดังนั้นจึงพยายามโยงเส้นใยแสงให้มาใกล้บ้านมากที่สุด ซึ่งเป็นที่มาของ Fiber to the Home นั่นเอง”

    การศึกษาขั้นบุกเบิกของระบบ FTTH ในบริเวณกรุงเทพมหานคร (CAT)

  • Fiber to the Home คืออะไรและมีประสิทธิภาพมากเพียงไร
  • “Fiber to the Home คือระบบเส้นใยแสงที่จะทำการส่งผ่านข้อมูลจาก Central Office หรือชุมสายของผู้ให้บริการไปยังบ้านเรือนของผู้ใช้บริการ โดยศักยภาพตามมาตรฐานของ Fiber to the Home ใหม่ล่าสุดที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ คือสามารถส่งข้อมูลไปถึงบ้านของเรา และส่งจากบ้านของเราไปยังชุมสายได้ความเร็วมากที่สุดถึงระดับ 2.5 Giga-bit per second (Gbps) หรือประมาณ 2,500,000,000 บิต / วินาที ถ้าจะให้เห็นภาพคือ ระบบบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตที่เราใช้อยู่ตามบ้านทุกวันนี้คือ ADSL อย่าง High speed Internet ที่บอกว่าความเร็ว 1 Mbps นั่นประมาณ 1,000,000 บิต / วินาที ก็จะเห็นว่า Fiber to the Home เร็วกว่าถึง 2,500 เท่า แล้วอย่างความเร็วของ High speed Internet ผ่านระบบ ADSL นั้น ในส่วนความเร็วของการ Upload นั้นจะต่ำกว่าความเร็วของการ Download แต่ถ้าเป็น Fiber to the Home ทั้ง upload download ความเร็วมากที่สุดจะเท่ากันคือ 2.5 Gbps นอกจากนั้น ADSL นี่สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากชุมสายมากจะได้ความเร็วน้อยลงไปอีก เนื่องจากใช้ข้อมูลที่อยู่ที่ความถี่สูงไม่สามารถวิ่งผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ได้ระยะทางไกล โดยทั่วไปความเร็วของ ADSL จะพอรับประกันได้ในระยะไม่น่าจะเกิน 5 กิโลเมตร ฉะนั้นถ้าบ้านใครไกลจากชุมสายออกไปเกิน 5 กิโลเมตรก็จะใช้ความเร็วได้ไม่เต็มที่ แต่ Fiber to the Home จะรองรับระยะการส่งข้อมูลได้ไกลถึง 20 กิโลเมตรโดยความเร็วไม่ตกลง”

  • ในปัจจุบันเริ่มมีผู้หันมาใช้ระบบนี้กันมากขึ้น ซึ่งผู้ใช้รายใหญ่คือประเทศญี่ปุ่น
  • “ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำระบบนี้มา ใช้มากที่สุด คือเริ่มนำ Fiber to the Home มาทำเป็นระบบเชิงพาณิชย์ประมาณปี 2001 หรือ 2002 ปัจจุบันมีเกือบ 10 ล้านครัวเรือนที่ใช้เทคโนโลยีนี้อยู่ และราคาถ้าเทียบกับ ADSL ก็น่าจะแพงกว่าประมาณ 30% แต่ถ้าเทียบกับความเร็วที่ได้จะต่างกันเยอะมาก ส่วนอเมริกานั้นเนื่องจากนิยมใช้เคเบิลทีวีกันแพร่หลาย ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลอินเตอร์เน็ตจะผ่านระบบเคเบิลทีวี ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ส่วนเกาหลี จีน ก็เริ่มนำมาใช้กันมากขึ้น”

  • สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการริเริ่มระบบนี้กันบ้างแล้ว แต่ไม่เป็นการแพร่หลายมากนัก
  • “สำหรับประเทศไทยปัจจุบันนี้ยังไม่บูมมาก จุดแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท Fiber to the Home ซึ่งเช่าสายเส้นใยแสงจากจากไฟฟ้า ให้บริการแถบสุขุมวิท สาธร ในความเร็ว 100 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วในมาตรฐานเก่าของ Fiber to the Home และยังไม่ได้ใช้กันแพร่หลายมากนัก แต่มีแนวโน้มจะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเนื่องจากทางการไฟฟ้าทั้ง 3 ภาคส่วนเองเริ่มสนใจที่จะนำมาใช้โดยกำลังอยู่ในระหว่างการวางแผนว่าการไฟฟ้า จะทำเองหรือจะให้บริษัทเอกชนรายไหนมาเช่าไปดำเนินการ ซึ่งผมก็เคยรับงานบางส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาศึกษาอยู่”

    “อย่างบริษัท CAT นี่ผมก็ไปทำการศึกษาออกแบบลงพื้นที่นำร่องให้เมื่อปีที่แล้วว่าถ้าจะทำใน กรุงเทพฯ ต้องลงทุนประมาณเท่าไร ตกถึงผู้ใช้บริการแล้วต้องจ่ายค่าใช้บริการเดือนละเท่าไร ซึ่งทางบริษัทก็สนใจพอสมควร เพราะอย่างไรก็ตามคาดว่าเทคโนโลยีนี้ต้องมาแทน ADSL อย่างแน่นอน ส่วน ToT นี่ทดลองวางจริงเลย โดยทำที่ภูเก็ตคาดว่าปีนี้จะลองให้บริการจริงเป็นพื้นที่นำร่อง และหน่วยวิจัยของ ToT ก็มีการซื้อชุดทดลองระบบ Fiber to the home นี้มาและวางแผนทำการทดลองว่าจะสามารถพัฒนาอะไรต่อได้บ้าง”

  • ระบบ Fiber to the Home จะเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยได้อย่างไร
  • “ถ้าจะทำให้ประเทศเรานิยมใช้ Fiber to the Home อย่างประเทศญี่ปุ่นนี่ ต้องผลักดันจากผู้ใช้งาน อย่างประเทศญี่ปุ่นจะมีโฆษณาว่าสามารถสั่ง VDO on Demand ได้ โดยต้องใช้ระบบ FTTH คนก็จะนิยมกันมาก เพราะที่ญี่ปุ่นจะไม่มีของละเมิดลิขสิทธิ์ การไปเช่าวิดีโอมาดูจึงราคาแพงพอสมควร ดังนั้นจึงต้องดูว่าประเทศเราควรจะผลักดันบริการส่วนไหนจึงจะทำให้คนใน ประเทศมีความสนใจระบบนี้มากขึ้น พอคนสนใจบริการนั้นๆ เค้าก็จะเรียนรู้ว่าต้องใช้ระบบ FTTH จึงจะใช้บริการนั้นได้ ระบบนี้ก็จะมีคนสนใจและได้รับความนิยมขึ้นมา เช่นคนไทยอาจจะสนใจ HDTV (High Definition TV) คือทีวีที่มีความชัดมากๆ ซึ่งถ้าจะส่งผ่านสายเคเบิลธรรมดานี่เป็นเรื่องยาก ส่งผ่าน ADSL นี่แทบเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นถ้าเราอาจโปรโมต HDTV เมื่อคนสนใจก็จะมีการใช้ Fiber to the Home แพร่หลายขึ้น และอีกส่วนหนึ่งที่คิดว่าคนน่าจะสนใจกันมากคือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งถ้าผ่านระบบ Fiber to the Home จะมีความเร็วสูงมาก การ Download ต่างๆ ก็จะทำได้ง่ายขึ้น”

  • ประโยชน์ของ Fiber to the Home นอกจากจะเกิดกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไปแล้ว ยังยังสามารถช่วยพัฒนาบริการทั้งหลายที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศได้ อีกด้วย
  • “อย่างเช่น การแพทย์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต (Telemedicine) คือ เราอยู่ส่วนหนึ่งของประเทศเราสามารถปรึกษาแพทย์ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของประเทศ ได้ โดยการส่งรูป ส่งฟิล์มเอ๊กซ์เรย์ ทั้งหลายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไปปรึกษาแพทย์แบบ Real time ได้ หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดทางไกลที่ว่าต้องมีการควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอยู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งต้องใช้ข้อมูลสื่อสารแบบ Real timeในการดำเนินงานจำนวนมหาศาล หรือพวก E-education คือคนสอนอยู่อีกที่หนึ่งคนเรียนอยู่อีกที่หนึ่ง สอนโดยผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งต้องใช้การสื่อสารข้อมูลจำนวนมหาศาลเช่นกัน ซึ่งถ้าระบบนี้มีการแพร่หลายและเชื่อมโยงไปทั่วทุกที่ก็จะช่วยในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชากร และพัฒนาประเทศได้”

    “นอกจากนั้นยังช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรม คือเมื่อใช้ระบบ Fiber to the Home ก็มีความต้องใช้ Modem สำหรับ Fiber to the Home โดยเฉพาะเพื่อแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ ซึ่งเมื่อมีการใช้แพร่หลายและเราต้องนำเข้าจากต่างประเทศก็จะต้องใช้ค่าใช้ จ่ายสูงเนื่องจากมีราคาแพง ถ้าเราสามารถผลิตเองได้ในประเทศซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตในประเทศ ก็จะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมได้”

  • และอาจารย์ก็ได้ให้ความเห็นว่า คนไทยจะต้องได้รู้จักและหันมาใช้ระบบ Fiber to the Home ในเร็ววันนี้แน่นอน
  • “สำหรับระบบ Fiber to the Home นี้คิดว่าจะแพร่หลายในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยในกรุงเทพมหานครนี้คิดว่าคงจะแพร่หลายกันในระยะเวลาประมาณ 3 ปีนี้อย่างแน่นอน”

  • นอกจากนั้นแล้วอาจารย์ยังได้ทำการวิจัยในส่วนอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกด้วย
  • “อย่างที่ได้กล่าวว่าจริงๆ ผมศึกษามาทางด้านการเชื่อมโยงระบบทางไกลเป็นพันๆ กิโลเมตร แต่เมื่อมาทำงานก็เน้นไปที่การโยงเครือข่ายจากบ้านไปยังชุมสายอย่าง Fiber to the Home รวมทั้งเน็ตเวิร์คซึ่งเป็นโครงข่ายในระดับเมือง นอกจากนั้นยังพัฒนาในส่วนที่เรียกว่า All optical signal processing หมายความว่าการประมวลผลสัญญาณในรูปแบบของแสงโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้ามายุ่ง ปกติตัวสัญญาณข้อมูลแสงนั้นทำให้มันช้า มันหยุด หรือจับใส่ฮาร์ดดิสก์เหมือนข้อมูลในรูปแบบของทางไฟฟ้าไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ผมทำคือทำการศึกษาว่าทำอย่างไรจะทำให้แสงมันช้า หรือจะหยุดเวลาของแสงได้อย่างไร หรือว่าทำอย่างไรจะแปลงความยาวคลื่นของแสงโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลย นี่คือสิ่งที่กลุ่มของผมทำการวิจัยอยู่ด้วย”

  • นอกจากนั้นอาจารย์ยังสนใจศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยทางด้านการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
  • “นอกจากทำในเรื่องพวกนี้แล้วผมยังฉีกแนวทำ เรื่องอื่นอีก คือระบบ Fiber-optic นี่โดยปกติต้องใช้สายในการส่งสัญญาณ ในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับระบบใช้สายสัญญาณนั้น ผมก็ศึกษาวิจัยอยู่กับระบบไร้สายด้วย”

    “ในอนาคตที่พูดถึง Fiber to the Home แล้วเรายังมีอินเตอร์เน็ตผ่านระบบที่เรียกว่าระบบไร้สายหรือ Wi-max บางท่านคงรู้จักระบบ Wi-fi ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่ง Wi-fi มีรัศมีประมาณ 30-100 เมตร แต่ Wi-max มีรัศมีประมาณ 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 75 Mbps เพราะฉะนั้นถ้ารัศมีกว้างขนาดนี้เราสามารถเล่นอินเตอร์เนตในรถได้ หรือใช้งานขณะเดินไปเดินมาได้ หรือถ้ามหาวิทยาลัยติดตั้งตัวส่งสัญญาณตัวเดียวนี่สามารถใช้ได้ทั้ง มหาวิทยาลัย ซึ่งกลุ่มของผมก็ทำวิจัยทางด้านนี้ด้วย ”

  • และสิ่งที่อาจารย์อยากจะฝากไว้ก็คือ
  • “ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านต่างๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วให้มีประสิทธิภาพการใช้งานต่างๆ สูงขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งาน คือประชาชนทั่วไปได้รับความสะดวกสบายในการใช้งาน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ก็รู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงอยากให้ทุกคนคอยติดตามความก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้”





    ISDN

    ISDN คืออะไร
    Integrated Service Digital Network คือบริการสื่อสารร่วม หมายถึงสามารถรับส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน ในระบบดิจิตอล ทำงานโดยการหมุนโทรศัพท์ผ่านคู่สาย ISDN ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 64 kbps - 128 kbps (สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 2 วงจร หรือ 2 sessionพร้อมกัน) และเนื่องด้วย ISDN เป็นการสื่อสารในระบบดิจิตอล ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ระบบจึงไม่มีสัญญาณรบกวน

    การใช้งาน นอกเหนือจากการนำมาใช้ Internet ด้วยความเร็วสูงแล้ว เรายังสามารถนำ ISDN มาใช้ในลักษณะของ Video Conferrent หมายถึง การประชุมระหว่างประเทศ หรือจังหวัด โดยสามารถมองเห็นได้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน

    บริการของ ISDN แบ่งได้ 2 ประเภท
    • Individual
      เหมาะสำหรับตามบ้าน หรือองค์กรที่ไม่มีระบบ LAN หรือ หมายถึงผู้ใช้งานคนเดียว



    • Corporate หรือ LAN
      เหมาะสำหรับองค์กรที่มีระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค สามารถใช้งาน internet ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน

    ขั้นตอนการขอใช้บริการ ISDN
    • ขอติดตั้งบริการ ISDN จากองค์การโทรศัพท์
    • ซื้ออุปกรณ์ ISDN modem หรือ ISDN Router
    • สมัครสมาชิกกับ บริษัทที่ให้บริการ internet หรือ ISP
    เพิ่มเติม
    • กรณีใช้งาน ISDN ร่วมกับโทรศัพท์ ความเร็วจะถูกลดลงเหลือ 64 kbps
    • ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการใช้งาน ครั้งละ 3 บาท
    • ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ การหมุนโทรศัพท์อาจเกิดปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด เช่นเดียวกับ Modem ธรรมดา
    ISDN (Integrated Services Digital Network)

    เป็นระบบที่ใช้ ในการติดต่อสื่อสารที่เป็น Circuit Switched แบบ digital ซึ่งถูกใช้งานมานานนับสิบปี ระบบนี้ยอมให้มีการส่งข้อมูล ภาพวีดีโอ ไปพร้อมๆกับเสียงด้วยความเร็วสูง ถูกตั้งเป็นมาตรฐานโดย ITU-T ในการพัฒนาระบบ PSTN (Public Switched Telephone Network) ให้เป็นการให้บริการแบบ Digital ที่มีความเร็วเหนือกว่า Modem ทั่วไป ในระบบ ISDN จะแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วนคือส่วน Bearer channel และ Data หรือ Delta Channel โดย Bearer channels (B channels) ทำหน้าที่ให้บริการ เสียง วีดีโอ หรือการส่งถ่ายข้อมูล ในขณะที่ Data Channel (D channel) นั้นเป็นตัวจัดการสัญญาณเรียกเข้าในระบบ network และการตอบรับ กำหนดเบอร์เรียกเข้า
    � � �การใช้บริการ ISDN แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ Basic Rate Interface (BRI) และ Primary Rate Interface (PRI) ในส่วนของ BRI นั้นจะใช้ 2 B channel คือ 64 kbps นั้นคือ 128 Kbps และใช้ 1 D channel 16 kbps รวมแล้วจะได้ bandwidth 144 kbps การบริการของ BRI นั้นเน้นที่ผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ใช่ในระดับองค์กร
    ส่วนของ PRI นั้นจะเน้นการใช้งานในระดับองค์กรที่ไม่ใหญ่มากนักเพราะจะมี Bandwidth ที่มากกว่า และส่งข้อมูลได้ทีละมากๆ ที่ PRI จะใช้ 23 B channel และ 1 D channel plus 64 kbps รวมแล้วจะได้ถึง 1536 kbps ในแถบ Europe นั้น PRI จะใช้ 30 B channel และ 1 D channel 64 kbps Bandwidth 2048 kbps หรือ 2 Mbps

    ส่วนประกอบที่ใช้ในระบบ ISDN

    1. ISDN Terminal Equipment
    � � �มี 2 ชนิดคือ TE1 และ TE2 โดย TE1 นั้นคืออุปกรณ์นั้นจะต้องเป็นโทรศัพท์ที่เป็นระบบ ISDN อยู่แล้วโดยสายจะเป็น 4 เส้นตีเกลียว ส่วน TE2 นั้นจะเป็นโทรศัพท์บ้านทั่วไปซึ่งถ้าจะใช้งานแบบ ISDN ต้องมีอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า TA

    2. ISDN Termination Equipment
    � � �เรียกในส่วนนี้ว่า NT (Network Terminal) เป็นส่วนที่ต่อระหว่างสายที่มี 4 เส้นตีเกลียวกับ สาย PSTN 2 เส้นด้าน Local loop ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิด�
    � � �- NT1 เป็นส่วนที่ติดต่อโดยตรงกับ ISDN ภายนอกกับส่วน NT2
    � � �- NT2 สำหรับ digital PBX หรือส่วนที่ยอมให้มีการต่อ analog device เช่น โทรศัพท์ หรือ Fax แล้วเปลี่ยนเป็น Digital
    � � �- NT1/2 จัดการทั้ง 2 ส่วนคือทั้ง NT1 และ NT2

    3. ISDN Reference Point
    จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
    R เป็นจุดต่อระหว่าง Non-ISDN หรืออุปกรณ์โทรศัพท์ทั่วไปกับ TA
    - S เป็นจุดต่อระหว่าง อุปกรณ์สำหรับ ISDN แล้วกับ NT2
    - T เป็นจุดต่อระหว่าง NT1 กับ NT2 device
    - U เป็นจุดต่อระหว่าง NT1 Device กับ วงจรภายนอก
    - ในปัจจุบันอุปกรณ์ ISDN นั้นจะรวมชุด NT1 เข้ามาด้วยแล้วทำให้งานกับการใช้งานมากขึ้น

    X.25

    X.25
    เป็น Protocol ส่งผ่าน packet switch เชื่อมต่อ DCE and DTE ใช้กับ LAN and WAN
    - Physical พุดถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์
    - Link level = Data Link เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลแต่ละ Frame จะมีตัวควบคุม error
    - Packet Level = Network Layer เส้นทางในการเชื่อมต่อเครือข่าย
    ครือขาย X.25 แพ็กเจสวิตช (X.25 Packet Switched Network)
    เครือขาย X.25 แพ็กเจสวิตช หรือเรียกสั้นๆ วา เครือขาย X.25 เปนเครือขายสาธารณะประเภท WAN
    (Wide Area Network) สําหรับการสงขอมูลดิจิตอลทางไกล มีความสามารถในการตรวจสอบและแกไขขอมูลได
    เครือขาย X.25 เปนเครือขายการสงขอมูลดิจิตอลสาธารณะที่ไดรบความนิยมมาก หลักในการสงขอมูลจะใชหลัก

    การเดียวกับการสงขอมูลผานเครือขายแพ็กเกจสวิตช
    ขอมูลทั้งหมดที่ตองการจะสงใหแกอุปกรณคอมพิวเตอรปลายทางที่อยูไกลออกไป จะถูกแบงออกเปน
    บล็อกขอมูลขนาดเล็กเรียกวา แพ็กเกจ แตละแพ็กเกจจะประกอบดวยสวนหัวซึงจะบอกขาวสารตางๆ เกี่ยวกับ

    ขอมูลรวมทั้งตําแหนงของปลายทางของขอมูล เครือขายจะทําการสงขอมูลแบบซิงโครนัสดวยโปรโตคอลควบ
    คุมการจัดการขอมูล และเสนทางของขอมูลซึ่งเปนโปรโตคอลแบบซิงโครนัส เชน SDLC หรือ HDLC เปนตน
    ขอมูลจะถูกสงผานเครือขายดวยความเร็วสูง และสามารถไปถึงปลายทางไดในเวลาไมถึง 1 วินาที แตละโหนด
    ที่ขอมูลถูกสงผานเขาไปจะเปน Store – and – Forward เพื่อกักเก็บขอมูลไวตรวจสอบ และแกไขขอมูลที่ผิด
    พลาดทําใหโหนดปลายทางสามารถมั่นใจไดวาขอมูลที่ไดรับมาถูกตองเปนลําดับเชนเดียวกับที่ออกมาจากตน
    ทาง
    การติดตอสื่อสารขอมูลในเครือขาย X.25 จะถูกกําหนดใหเปนไปตามมาตรฐาน CCITT Recommendation
    X.25 เพื่อใหบริษัทผูใหบริการสื่อสารขอมูลตางๆ ยึดถือเปนมาตรฐานเดียวกันในการสง – รับขอมูลผานเครือขาย
    ทําใหเครือขาย X.25 ไดรบความนิยมแพรหลาย

    องคประกอบที่สาคัญของเครือขาย X.25 แพ็กเกจสวิตช ไดแก

    1. สถานีแพ็กเกจสวิตชหรือโหนด เพื่อเก็บกักและสงตอขอมูล รวมทั้งตรวจสอบความผิดพลาดของ
    ขอมูล
    2. อุปกรณแยกหรือรวมแพ็กเกจ (X.25 PAD) เพื่อแยกขอมูลออกเปนแพ็กเกจ หรือรวมแพกเกจขอมูล
    รวมทั้งทําหนาที่เปนคอนเวอรเตอร (Converter) คือ จัดการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลของขอมูลที่ตาง
    ชนิดกันใหเปนโปรโตคอลชนิดเดียวกัน เพื่อใหสามารถติดตอสื่อสารกันได
    3. ศูนยกลางควบคุมแพกเกจ (NCC) หรือ Network Packet Control Center เปนศูนยกลางซึ่งทําหนาที่
    ควบคุมการทํางานของแพ็กเกจสวิตชของเครือขาย ซึ่งไดแกบริษัทผูใหบริการการสื่อสารขอมูลชนิด
    นี้
    4. แพ็กเกจคอนเซนเตรเตอร ทําหนาที่เปนมัลติเพล็กซ และดีมลติเพล็กซสัญญาณของแพ็กเกจขอมูลที่

    มาจากแหลงตนทางใหผานรวมกันไปในสายเดียวกันรวมทั้งยังสามารถตรวจสอบความผิดพลาด
    ของขอมูล และจัดการแปลงโปรโตคอลของขอมูลใหเปนแบบเดียวกันไดอีกดวย
    5. โปรโตคอล X.25 เปนโปรโตคอลที่ใชในการติดตอสือสารขอมูลภายในเครือขาย X.25 การทํางาน

    ของโปรโตคอล X.25 จะทําการติดตอสื่อสารอยูใน 3 เลเยอรลางสุดของสถาปตยกรรมรูปแบบ
    OSI การติดตอสื่อสารเหนือเลเยอรชั้น Network จะเปนหนาที่ของโปรแกรมซอฟตแวรการสื่อสาร
    ระหวาง Application – to – Application หรือ User to Application
    โปรโตคอลเครือขาย X.25 จะใชการสงขอมูลแบบซิงโครนัสชนิด HDLC (High-Level Data Link
    Control) ในเฟรมของ HDLC จะใช CRC-16 (Cyclic Redundan Check) เปนเทคนิคในการตรวจสอบ และแกไข
    ความผิดพลาดของขอมูล สวนหัวและสวนทายของเฟรมจะบงบอกขาวสารเกี่ยวกับขอมูลรวมทั้งเสนทางการสง
    ขอมูลผานเครือขายดวย เฟรมสงขอมูล HDLC ของเครือขาย X.25
    เครือขาย X.25 นอกจากจะใชมาตรฐาน CCITT X.25 กําหนดวิธีการติดตอสื่อสารขอมูลภายในเครือ
    ขาย X.25 แลว ยังมีมาตรฐานอื่นที่สําคัญที่เกี่ยวของกับเครือขาย X.25 อีก เชน CCITT X.3 , CCITT X.28 และ
    CCITT X.29
    CCITT X.3
    เปนมาตรฐานกําหนดฟงกชนหนาที่การทํางานของ X.25 PAD และพารามิเตอรตางๆ ที่ใชในการควบ

    คุมการทํางานของ X.25 PAD เนื่องจาก X.25 PAD ถือเปนดานแรกที่จะติดตอกับระบบตางๆ นอกเครือขาย
    X.25 ซึ่งเทอรมินัลที่ตอเขากับ X.25 PAD หรือแอปพลิเคชันของเทอรมินลที่รันผาน X.25 PAD อาจจะตาง

    แบบตางชนิดกัน ดังนัน X.25 PAD จึงตองมีพารามิเตอรมากพอ (12 พารามิเตอร) ที่จะรองรับความหลากหลาย

    ของระบบภายนอกเครือขายดวย
    CCITT X.28
    เปนมาตรฐานการติดตอกันระหวางเทอรมนัลกับ X.25 PAD โดยปกติแลวมาตรฐาน X.28 จะกําหนด

    รหัสการติดตอกับรหัสแอสกี (ASCII Code) ซึ่งประกอบดวยบิตขอมูล 7 บิต ตอ 1 อักขระขอมูล และบิตที่ 8
    เปนพาริตี้บิตสําหรับการตรวจสอบความผิดพลาดของขอมูล และเชนเดียวกันอักขระควบคุมก็ใชรหัสแอสกี นอก
    จากนี้ X.28 ยังสามารถกําหนดสัญญาณ Break Signal สําหรับการขัดจังหวะ (Interrupt) หรือหยุดการสื่อสาร
    ขอมูล หรือแอปพลิเคชัน โดยเทอรมินัลจะเปนผูสงสัญญาณนั่นเอง
    CCITT X.29
    เปนมาตรฐานกําหนดการติดตอระหวางโฮสตคอมพิวเตอรกับ X.25 PAD คือ นอกจากโฮสตจะสามารถ
    สง – รับขอมูลผาน X.25 PAD ไปยังเทอรมนลที่อยูไกลออกไปแลว X.29 ยังกําหนดใหโฮสตสามารถมีคาสั่ง
    ิ ั ํ
    ควบคุม (Control Command) ในการเปลี่ยนลักษณะการทํางานของ X.25 PAD ไดอีกดวย เพื่อความสะดวกใน
    การติดตอกับเทอรมินัล
    โปรโตคอล X.25
    โปรโตคอล X.25 เปนโปรโตคอลแบบบิตขอมูล (Bit-Oriented) ซึ่งกําหนดมาตราฐานโดยองคกร
    CCITT (Consulative Committee in International Telegraphy and Telephony) ซึ่งใชกันแพร หลายทั้งในยุโรป
    และอเมริกาเหนือ การทํางานของโปรโตคอล X.25 จะอยูในเลเยอร 3 ชั้นลางของรูปแบบ OSI เทานั้น บางครั้งเรา
    เรียกโปรโตคอล X.25 วา "แพ็กเกจเลเยอรโปรโตคอล" (Packet Layer Protocol) เพราะมักใชเครือขายแพ็กเกจ
    สวิตช
    โปรโตคอล X.25 ใชติดตอระหวางเครื่องโฮสต หรือ DTE (Data Terminal Equipment) กับสถานีนําสง
    หรือ DCE (Data Communication Equipment) สําหรับในการอินเตอรเฟซกับเลเยอรชั้นลางสุด (Physical Layer)
    โปรโตคอล X.25 ยังตองอาศัยโปรโตคอล X.21 หรือ X.21 bis ชวยในการติดตอกับ การอินเตอรเฟซแบบดิจิตอล
    และอินเตอรเฟซแบบอนาล็อกตามลําดับ
    เฟรมขอมูลของโปรโตคอล X.25 นั้นจะแบงออกเปนเฟรม ๆ เรียกวาแพ็กเกตเชนเดียวกับเฟรมขอมูล
    ของโปรโตคอล SDLC ในการสื่อสารขอมูลกันระหวาง DTE และ DCE ในเลเยอรชั้นที่ 2 นั้น สามารถ สื่อสาร
    กันโดยผานทางสายโทรศัพทได
    สําหรับในการสื่อสารขอมูลในเลเยอรชั้นที่ 3 เลเยอร Network หรือบางทีเรียกวา "เลเยอร Packet" จะมี
    ลักษณะการสื่อสารที่เรียกวา วงจรเสมือน (Virtual Circuit) ซึ่งมีลักษณะการติดตอสื่อสารอยู 3 ขั้นตอนคือ
    1. การกําหนดวงจรสื่อสาร (Establish) เริ่มตนจาก DTE ตนทางสงสัญญาณขอติดตอขอมูลกับ DTE
    ปลายทาง เมื่อทาง DTE ปลายทางตอบรับการติดตอวาพรอม ก็เปนอันวาวงจรการสื่อสารไดเริ่มตนขึ้น แลว
    2. การสง - รับขอมูล (Transmit) เปนการรับ - สงแลกเปลี่ยนขอมูลซึ่งกันและกันระหวาง DTE ทั้ง 2 ดาน
    ขอมูลจะถูกสงเปนแพ็กเกจ ๆ ผานเครือขายแพ็กเกจสวิตช
    3. การยุติการสื่อสาร (Disconnect) DTE ตนทางจะสงสัญญาณบอกยุติการสื่อสารตอ DTE ปลายทาง
    โดยตองรอให DTE ปลายทางยืนยันการยุตการสื่อสารกลับมาดวย

    โปรโตคอล X.25 สามารถใชไดกบอุปกรณสื่อสารขอมูลทั่วไป ที่ผลิตจากบริษัทตางกัน และยัง

    สามารถใชไดกบเครือขายการสื่อสารที่มีสถาปตยกรรมตางกันไดอกหลายแบบดวย
    ั ี

    วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

    โปรแกรมที่อยู่ในความดูแลของ BSA


    Cadence Design Systems


    CA




    Bentley Systems





    Adobe




    Apple



    Autodesk


    AVG

    กฎหมายลิขสิทธหรือสิทธิบัตร

    ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
    ทรัพย์สิน ทางปัญญา (intellectual property) ซึ่งหมายถึงสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือผลิตผลจาก ความคิดทางปัญญาของบุคคล มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงโดยตลอดควบคู่ไปกับการเปลี่ยนของพัฒนาการ ของเทคโนโลยี
    เหตุผลสำคัญของการที่รัฐคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ก็เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้น และส่งเสริมการจัดระเบียบการแข่งขันใน ตลาดการค้า
    ผลงานทางปัญญาใดจะได้ รับการคุ้มครองย่อมขึ้นอยู่กับคุณค่าของผลงานนั้นเป็นสำคัญ ซึ่งก็ หมายความว่า ผู้ที่พัฒนาหรือสร้างสรรค์งานไม่อาจอ้างสิทธิทางกฎหมายในผลงานทางปัญญาของตน ได้ในทุก กรณี สิ่งที่จะได้รับการคุ้มครองจะต้องมีคุณสมบัติต้องตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ผลงานทางปัญญาที่ขาด คุณสมบัติจะไม่ตกเป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์ หากแต่เป็นความรู้สาธารณะ (knowledge in the public domain) ที่บุคคลใดๆ อาจนำไปใช้ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย หรือเป็นการผิดต่อศีลธรรม กฎหมาย ไม่คุ้มครองผลงานที่ขาดคุณสมบัติ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้สร้างสรรค์ได้ลงทุนหรือลงแรงไปกับผลงานนั้นมาก น้อยเพียงใด
    สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจจำแนกออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
    สิทธิในทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (industrial property rights) และ
    ลิขสิทธิ์ (copyright)


    ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรกับลิขสิทธิ์
    กฎหมาย สิทธิบัตรให้การคุ้มครองเทคโนโลยีการประดิษฐ์ แต่กฎหมายของประเทศกำลังพัฒนาบาง ประเทศ รวมทั้งกฎหมายไทย มิได้คุ้มครองเฉพาะการประดิษฐ์เท่านั้น หากแต่คุ้มครองการออกแบบทาง อุตสาหกรรม (industrial designs) ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรด้วย ซึ่งการคุ้มครองในลักษณะนี้แตกต่างกับ กฎหมายของบรรดาประเทศอุตสาหกรรม ที่แยกการคุ้มครองการออกแบบทางอุตสาหกรรมไปไว้ภายใต้ กฎหมายอีกระบบหนึ่ง

    ในขณะที่กฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครองความคิด (idea) ที่อยู่ภายใต้การประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ กฎหมายลิขสิทธิ์ให้การคุ้มครองสำหรับการแสดงออกซึ่งความคิด (expression of idea) โดยมิได้คุ้มครองตัวความคิดโดยตรง ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ในงานประเภทที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น งานวรรณกรรมนาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ


    สิทธิบัตร จะให้สิทธิที่จะกีดกันบุคคลอื่นมิให้ใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือแบบผลิตภัณฑ์ตาม สิทธิบัตร ซึ่งเท่ากับว่าผู้ทรงสิทธิเป็นผู้มีสิทธิผูกขาดโดยสมบูรณ์ (absolute monopoly right) ที่ปกป้องผู้ทรง สิทธิจากการแข่งขันของบุคคลอื่น ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้กระทำละเมิดมีเจตนาที่จะลอกเลียนการประดิษฐ์ตาม สิทธิบัตรหรือไม่ ตัวอย่างเช่น นาย ก. ได้ขอรับสิทธิบัตรในการประดิษฐ์อันหนึ่งไว้ ต่อมา นาย ข. ได้คิดค้น การประดิษฐ์แบบเดียวกันได้ โดยนาย ข. ได้คิดค้นการประดิษฐ์นั้นด้วยตนเอง เช่นนี้ นาย ข. อาจถูกนาย ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรห้ามมิให้ใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ของตนได้ ถึงแม้ว่านาย ข. จะไม่ได้ลอกเลียนการ ประดิษฐ์ของนาย ก. ก็ตาม

    สิทธิ ตามสิทธิบัตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขอรับสิทธิจากรัฐ โดยต้องมีการทำเอกสารคำขอตามแบบที่กฎหมายกำหนด และเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการตรวจสอบคำขอและคุณสมบัติการประดิษฐ์ว่ามีความ ถูกต้องครบถ้วน จึงจะออกสิทธิบัตรให้ ส่วนผู้สร้างสรรค์งานประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ จะได้ไปซึ่งลิขสิทธิ์ในงานนั้นโดยทันที โดยผู้สร้างสรรค์ไม่จำต้องนำงานไปจดทะเบียนหรือขอรับความคุ้มครองจากรัฐ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการของอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรม และศิลปกรรม (Berne Convention for theProtection of Literary and Artistic Works) ที่ห้ามการกำหนดเงื่อนไขของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดๆ1

    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร

    ลิขสิทธิ์คืออะไร?
    ลิขสิทธิ์ คือการคุ้มครองทางกฎหมายที่ให้แก่การผลิตผลงานต้นฉบับในสหรัฐอเมริกา ลิขสิทธิ์คุ้มครองหนังสือ ภาพวาด รูปถ่าย ดนตรี วีดีโอ ซอฟต์แวร์ และอื่นๆ ลิขสิทธิ์จะอยู่ติดกับผลงานตั้งแต่ผลงานนั้นอยู่ในรูปที่จับต้องได้ (บนกระดาษ วีดีโอ และอื่น ๆ) และป้องกันคนอื่นเอาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

    ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิต่าง ๆ ที่อยู่ด้วยกัน
    ลิขสิทธิ์ เป็นสิทธิต่าง ๆ ที่อยู่ด้วยกัน รวมไปถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่าย ขาย ทำซ้ำ แสดงในที่สาธารณะและสร้างผลงานที่พัฒนามาจากผลงานเดิม ลิขสิทธิ์สำหรับผลงานใหม่มีระยะเวลา 70 ปี ขึ้นอยู่กับว่าคนทำเป็นบุคคลหรือบริษัท ระยะเวลาของลิขสิทธิ์ของผลงานเก่า ๆ นั้นยากแก่การตรวจสอบ จริง ๆ แล้วผลงานเก่าไม่ได้แปลว่าลิขสิทธิ์หมดอายุแล้วเสมอไป เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะขาย ย้าย ให้ หรือให้อนุญาตสิทธิที่มีแต่เพียงผู้เดียวอันใดอันหนึ่ง หรือทั้งหมดให้กับคนอื่น จนกระทั่งหมดระยะเวลาการคุ้มครอง

    การจดลิขสิทธิ์และการทำเครื่องหมาย
    ใน สหรัฐอเมริกา คุณไม่ต้องจดลิขสิทธิ์เพื่อจะได้รับผลประโยชน์จากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่คุณอาจต้องจดลิขสิทธิ์ถ้าต้องการฟ้องร้องเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย © บนผลงานของคุณ แต่ก็เป็นความคิดที่ดี การที่ไม่มีเครื่องหมาย © ไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถลอกผลงานไปใช้ได้ ก่อนได้รับอนุญาต

    การขายผลงานที่มีลิขสิทธิ์
    ภาย ใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ เจ้าของสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ สามารถขายสินค้าชิ้นนั้นได้ เช่น ถ้าคุณซื้อดีวีดีภาพยนตร์ คุณสามารถขายดีวีดีแผ่นนั้นได้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ป้องกันคุณไม่ให้ไปก๊อปปี้ดีวีดีภาพยนตร์แล้วนำแผ่นที่ ก็อปปี้ไปขายต่อ ถ้าคุณได้ซื้อใบอนุญาตสิทธิในการใช้สินค้าที่มีลิขสิทธิ์ คุณควรตรวจสอบใบอนุญาต และปรึกษาทนายของคุณเพื่อดูว่าคุณสามารถขายได้หรือไม่

    การขายกับการให้ฟรี
    การ คุ้มครองลิขสิทธิ์รวมไปถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่ายผลงาน ลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าการให้ผลงานลิขสิทธิ์ที่ก็อปปี้ขึ้นมาโดยไม่ได้รับอนุญาตฟรี ๆ (เช่นวีดีโอที่ก็อปปี้มา) ดังนั้นการขายดินสอที่ราคา $5.00 และ "แถม" ดีวีดีที่ก็อปปี้มาโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการผิดกฎหมาย

    สิทธิในการเปิดเผยต่อสาธารณะ
    ใน ทำนองเดียวกัน การใส่หน้าของใครบางคน รูป ชื่อ หรือลายเซ็นลงในสินค้าที่ขายนั้น เป็นสิ่งต้องห้ามโดยกฎหมาย “Right of Publicity” ของรัฐแคลิฟอร์เนีย และกฎหมายที่เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวบางอย่าง ดังนั้นการใช้ภาพของคนดังเพื่อการค้า อาจเป็นการละเมิดสิทธิของคนดังคนนั้นถึงแม้ว่าภาพนั้นถ่ายโดยผู้ขายและผู้ ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตาม

    เบิร์นคอนเวนชั่น?
    เบิร์น คอนเวนชั่นไม่ได้เป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และไม่ได้หมายถึงว่าสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่ฝ่าฝืน กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา ได้ เบิร์นคอนเวนชั่นเป็นสนธิสัญญาสากลที่สหรัฐอเมริกาเซ็นในปี 1989 โดยการเซ็นสนธิสัญญานี้ สหรัฐอเมริกาให้คำมั่นสัญญาว่าจะแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์บางอย่างของตัวเอง

    * ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นการแนะนำทางกฎหมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยว่าจะขายสินค้าบนอีเบย์ได้หรือไม่ เราแนะนำให้คุณติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือปรึกษาทนายความของคุณ

    การฝ่าฝืนนโยบายอาจจะเกิดผลตามมาได้หลายอย่างรวมไปถึง

    การยกเลิกรายการประกาศขายของคุณ

    การจำกัดสิทธิการใช้งานแอคเคานต์ของคุณ

    การระงับใช้งานแอคเคานต์

    ยึดค่าธรรมเนียมรายการประกาศขายที่ถูกยกเลิก

    สูญเสียสถานะ PowerSeller

    คำสั่งพื้นฐานในระบบปฏิบัติการ Linux/Unix

    คำสั่ง telnet
    เป็นคำสั่งที่เปลี่ยน host ที่ใช้อยู่ไปยัง host อื่น (ใน Windows 95 ก็มี)
    รูปแบบ $ telnet hostname
    เช่น c:> telnet student.rit.ac.th เปลี่ยนไปใช้ host ชื่อ student.rit.ac.th
    $ telnet 202.44.130.165 เปลี่ยนไปใช้ host ที่มี IP = 202.44.130.165
    $ telnet 0 telnet เข้า host ที่ใช้อยู่นะขณะนั้น
    เมื่อเข้าไปได้แล้วก็จะต้องใส่ login และ password และเข้าสู่ระบบยูนิกส์นั้นเอง

    คำสั่ง ftp

    ftp เป็นคำสั่งที่ใช้ถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง โดยการติดต่อกับ host ที่เป็น ftp นั้นจะต้องมี user name และมี password ที่สร้างขึ้นไว้แล้ว แต่ก็มี ftp host ที่เป็น public อยู่ไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้นจะมี user name ที่เป็น publicเช่นกัน คือ user ที่ชื่อว่า anonymous ส่วน password ของ user anonymous นี้จะใช้เป็น E-mail ของผู้ที่จะ connect เข้าไปและโปรแกรมส่วนใหญ่ก็จะอยู่ใน directory ชื่อ pub
    รูปแบบ $ ftp hostname
    เช่น c:windows> ftp wihok.itgo.com
    $ ftp ftp.nectec.or.th
    คำสั่ง ftp จะมีคำสั่งย่อยที่สำคัญๆ ได้แก่
    ftp> help ใช้เมื่อต้องการดูคำสั่งที่มีอยู่ใในคำสั่ง ftp
    ftp> open hostname ใช้เมื่อต้องการ connect ไปยัง host ที่ต้องการ
    ftp> close ใช้เมื่อต้องการ disconnect ออกจาก host ที่ใช้งานอยู่
    ftp> bye หรือ quit ใช้เมื่อต้องการออกจากคำสั่ง ftp
    ftp> ls หรีอ dir ใช้แสดงชื่อไฟล์ที่มีอยู่ใน current directory ของ host นั้น
    ftp> get ใช้โอนไฟล์ทีละไฟล์จาก host ปลายทางมายัง localhost หรือเครื่องของเรานั้นเอง
    ftp> mget ใช้โอนไฟล์ทีละหลายๆไฟล์จาก host ปลายทางมายัง localhost
    ftp> put ใช้โอนไฟล์ทีละไฟล์จาก localhost ไปเก็บยัง host ปลายทาง
    ftp> mput ใช้โอนไฟล์ทีละหลายๆไฟล์จาก localhost ไปเก็บยัง host ปลายทาง
    ftp> cd ใช้เปลี่ยน directory
    ftp> delete และ mdelete ใช้ลบไฟล์

    คำสั่ง lsมีค่าเหมือนกับ คำสั่ง dir ของ dos
    รูปแบบ $ ls [-option] [file]
    option ที่สำคัญ
    l แสดงแบบไฟล์ละบรรทัด แสดง permission , เจ้าของไฟล์ , ชนิด , ขนาด , เวลาที่สร้าง
    a แสดงไฟล์ที่ซ่อนไว้ ( dir /ah)
    p แสดงไฟล์โดยมี / ต่อท้าย directory
    F แสดงไฟล์โดยมีสัญญลักษณ์ชนิดของไฟล์ต่อท้ายไฟล์คือ
    / = directory
    * = execute file
    @ = link file
    ld แสดงเฉพาะ directory (dir /ad)
    R แสดงไฟล์ที่อยู่ใน directory ด้วย (dir /s)
    เช่น
    $ ls
    $ ls -la

    คำสั่ง moreแสดงข้อมูลทีละหน้าจอ อาจใช้ร่วมกับเครื่องหมาย pipe line ( | ) หากต้องการดูหน้าถัดไปกด space ดูบรรทัดถัดไปกด Enter เช่น
    $ ls -la | more
    $ more filename

    คำสั่ง catมีค่าเหมือนกับ คำสั่ง type ของ dos ใช้ดูข้อมูลในไฟล์ เช่น
    $ cat filename

    คำสั่ง clearมีค่าเหมือนกับ คำสั่ง cls ของ dos ใช้ลบหน้าจอ terminal ให้ว่าง
    $ clear

    คำสั่ง dateใช้แสดง วันที่ และ เวลา
    $ date 17 May 1999

    คำสั่ง cal ใช้แสดง ปฏิทินของระบบ
    รูปแบบ $ cal month year เช่น
    $ cal 07 1999

    คำสั่ง lognameคำสั่งแสดงชื่อผู้ใช้ขณะใช้งาน
    $ logname

    คำสั่ง id ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน
    $ id

    คำสั่ง tty แสดงหมายเลข terminal ที่ใช้งานอยู่
    $ tty

    คำสั่ง hostnameคำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่
    $ hostname

    คำสั่ง uname
    คำสั่งแสดง ชื่อและรุ่นของ OS ชื่อและรุ่นของ cpu ชื่อเครื่อง
    $ uname -a

    คำสั่ง history
    คำสั่งที่ใช้ดูคำสั่งที่ใช้ไปแล้วก่อนหน้านี้
    $ history
    เวลาเรียกใช้ต้องมี ! แล้วตามด้วยหมายเลขคำสั่งที่ต้องการ

    คำสั่ง echo และ banner
    $ echo "Hello" ใช้แสดงข้อความ "Hello" ขนาดปกติ
    $ banner "Hello" ใช้แสดงข้อความ "Hello" ขนาดใหญ่

    คำสั่ง who , w และ fingerใช้แสดงว่าใครใช้งานอยู่บ้างขณะนั้น
    $ who
    $ w
    $ finger ดูผู้ใช้ที่ host เดียวกัน
    $ finger @daidy.bu..ac.th ดูผู้ใช้โดยระบุ Host ที่จะดู
    $ finger wihok ดูผู้ใช้โดยระบุคนที่จะดูลงไป
    $ who am i แสดงชื่อผู้ใช้ เวลาที่เข้าใช้งาน และ หมายเลขเครื่อง
    $ whoami เหมือนกับคำสั่ง logname

    คำสั่ง pwd แสดง directory ที่เราอยู่ปัจจุบัน
    $ pwd

    คำสั่ง mkdirใช้สร้าง directory เทียบเท่า MD ใน DOS
    $ mkdir dir_name

    คำสั่ง cp
    ใช้ copy ไฟล์หนึ่ง ไปยังอกไฟล์หนึ่ง
    รูปแบบ $ cp [-irfp] file_source file_target
    option -i หากมีการทับข้อมูลเดิมจะรอถามก่อนที่จะทับ
    option -r copy ไฟล์ทั้งหมดรวมทั้ง directory ด้วย
    option -f ไม่แสดงข้อความความผิดพลาดออกหน้าจอ
    option -p ยืนยันเวลาและความเป็นเจ้าของเดิม
    $ cp file_test /tmp/file_test

    คำสั่ง mvใช้ move หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์
    รูปแบบ $ mv [-if] file_source file_target
    ความหมายของ option เช่นเดียวกับ cp
    $ mv index.html main.html เปลี่ยนชื่อไฟล์ index.html เป็น main.html

    คำสั่ง rmใช้ลบไฟล์หรือ directory โดยที่ยังมีข้อมูลภายในเทียบเท่า del และ deltree ของ dos
    รูปแบบ $ rm [-irf] filename
    $ rm -r dir_name ลบ dir_name โดยที่ dir_name เป็น directory ว่างหรือไม่ว่างก็ได้
    $ rm -i * ลบทุกไฟล์โดยรอถามตอบ

    คำสั่ง rmdirใช้ลบ directory ที่ว่าง เทียบเท่ากับ rd ของ Dos
    $ rmdir dir_name

    คำสั่ง aliasใช้ย่อคำสั่งให้สั้นลง
    $ alias l = ls -l
    $ alias c = clear

    คำสั่ง unaliasใช้ยกเลิก alias เช่น
    $ unalias c

    คำสั่ง type
    ใช้ตรวจสอบว่าคำสั่งที่ใช้เก็บอยู่ที่ใดของระบบ
    รูปแบบ $ type command
    $ type clear

    คำสั่ง findใช้ค้นหาไฟล์ที่ต้องการ เช่น
    $ find /usr/bin -name "*sh" -print หาไฟล์ที่ลงท้ายด้วย sh จาก /usr/bin

    คำสั่ง grep
    ใช้คนหาข้อความที่ต้องการจากไฟล์
    $ grep ข้อความ file

    คำสั่ง man
    man เป็นคำสั่งที่เป็นคู่มือการใช้คำสั่งแต่ละคำสั่งเช่น
    $ man ls
    $ man cp

    คำสั่ง write ใช้ส่งข้อความไปปรากฎที่หน้าจอของเครื่องที่ระบุในคำสั่งไม่สามารถใช้ข้าม host ได้
    เช่น $ write s0460003

    คำสั่ง mesg
    $ mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal
    $ mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
    $ mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้

    คำสั่ง talk
    ใช้ ติดต่อสื่อสารแบบสองทาง เหมือนกับการคุยโดยผู้ส่ง ๆ ไปแล้วรอการตอบกลับจาก ผู้รับ สามารถหยุดการติดต่อโดย Ctrl + c สามารถใช้ข้าม host ได้
    รูปแบบ $ talk username@hostname

    คำสั่ง pine
    ใช้อ่านและส่งจดหมายข้างในจะมี menu ให้ใช้

    คำสั่ง tar
    ใช้ สำหรับ รวมไฟล์ย่อยให้เป็นไฟล์ Packet คล้ายๆกับการ zip หลายๆไฟล์ให้เป็นไฟล์เดียวแต่ขนาดไฟล์ไม่ได้ลดลงอย่างการ zip โดยไฟล์ output ที่ได้จะตั้งชื่อเป็น filename.tar หรือการแตกไฟล์ packet จาก filename.tar ให้เป็นไฟล์ย่อยมักจะใช้คู่กับ gzip หรือ compress เพื่อทำการลดขนาด packet ให้เล็กลง

    รูปแบบการใช้

    $ tar -option output input
    -option ประกอบด้วย -cvf , -tvf , -xvf แสดงดังด้านล่าง
    output คือ ไฟล์.tar หรืออาจจะเป็น device เช่น tape ก็ได้
    input คือ ไฟล์หรือกลุ่มไฟล์หรือ directory หรือรวมกันทั้งหมดที่กล่าวมา
    $ tar -cvf Output_file.tar /home/myhome/*
    Option -cvf ใช้สำหรับการรวมไฟล์ย่อยไปสู่ไฟล์ .tar จากตัวอย่าง รวมไฟล์ทุกไฟล์ที่อยู่ใน /home/myhome/ เข้าสู่ไฟล์ชื่อ Output_file.tar
    $ tar -tvf filename.tar
    Option -tvf ใช้แตกไฟล์ .tar เป็นไฟล์ย่อยๆแบบ preview คือแสดงให้ดูไม่ได้แตกจริงอาจใช้คู่กับ คำสั่งอื่น เพื่อให้ได้ประโยชน์ตามต้องการ เช่น tar -tvf filename.tar |more
    $ tar -xvf filename.tar
    Option -xvf ใช้แตกไฟล์ .tar เป็นไฟล์ย่อยๆ โดยจะแตกลง ณ current directory

    คำสั่ง gzip

    ใช้ zip หรือ Unzip ไฟล์ packet โดยมากแล้วจะเป็น .tar เช่น
    $ gzip filename.tar ผลที่ได้จะได้ไฟล์ซึ่งมีการ zip แล้วชื่อ filename.tar.gz
    $ gzip -d filename.tar.gz ใช้ unzip ไฟล์ผลที่ได้จะเป็น filename.tar

    คำสั่ง Compress และ Uncompress

    หลังจากการ compress แล้วจะได้เป็นชื่อไฟล์เดิมแต่ต่อท้ายด้วย .Z การใช้งานเหมือนกับ gzip และ gzip -d เช่น
    $ compress -v file.tar จะได้ไฟล์ชื่อ file.tar.Z โดย Option -v จะเป็นการ verify การ compress
    $ uncompress -v file.tar.Z

    Link คู่มือการใช้ Ubuntu

    http://www.reo09.go.th/reo09/admin/news/file/6.pdf

    http://www.ubuntuclub.com/node/951

    http://gotoknow.org/post/tag/ubuntu

    วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

    ข้อสอบระบบเครือข่ายและการกระจาย 30 ข้อ

    ข้อสอบ1. IPv6 ย่อมาจากข้อใด
    ก. Internet Protocol Versiones 6
    ข. Internet Protocol Versiond 6
    ค. Internet Protocol Versionee 6
    ง. Internet Protocol Version 6 *
    2. IPv 6 ถูกพัฒนาจาก IP v ใด
    ก. IPv 4 *
    ข. IPv 5
    ค. IPv 6
    ง. IPv 7
    3. ระบบ IPv4 ในปัจจุบันยังใช้ลำดับชั้นของแอดเดรสเพื่อจำแนกอะไรสำหรับส่งไปในเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตแบ็กโบน
    ก. ทราฟฟิก *
    ข.ตราฟฟิก
    ค.กราฟฟิก
    ง.มราฟฟิก
    4. เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็นกี่เทคนิค
    ก.3 เทคนิค *
    ข. 4 เทคนิค
    ค.5 เทคนิค
    ง.6 เทคนิค
    5. การใช้งาน IPv4 และ IPv6 ควบคู่กันหรือที่เรียกว่าอะไร
    ก. Fual stack
    ข. Bual stack
    ค. Eual stack
    ง. Dual stack *
    6.ข้อใดไม่ใช่เป็น การแบ่งประเภทของ IPV 6
    ก.ขอมูล
    ข. เทเบิล
    ค.การจัดการโลแบคเซกเมนต์
    ง.เส้นทางการส่งข้อมูล *
    7. ทำการทดลองศึกษาวิจัยและ พัฒนา ระบบการทำงานของระบบ ต้นแบบสำหรับเชื่อมต่อเครือข่าย IPv6อัตโนมัติสำหรับผู้ใช้ระดับครัวเรือน ( IPv6 Tunnel Broker )คือข้อใด

    ก.วัตถุประสงค์ *
    ข.ประโยชน์
    ค.คำนิยาม
    ง.หัวข้อ8. IPv6
    มีการกำหนดตำแหน่งที่อยู่ผู้ติดต่อและผู้รับการติดต่อเป็นกี่บิต
    ก. 125 บิต
    ข. 126 บิต
    ค.127 บิต
    ง.128 บิต *
    9. IPV6 จะประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวนเท่าไร
    ก. 128 bit *
    ข.127 bit
    ค.126 bit
    ง.125bit
    10. IPv6 เพิ่มอะไร เพื่อที่จะบังคับขนาดของแพ็ตเก็ต IPv6 เท่านั้น
    ก. molder
    ข. Sracrer
    ค. Hear
    ง. Headers *
    11. ใน IPv6 header อนุญาตให้อะไร ทำการระบุและดูแล แพ็ตเก็ตที่ไหล
    ก.Router *
    ข.Routerse
    ค.Routeredse
    ง. Routeree
    12. IPv6 มี field ของ header ใหม่ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องใช้ในการประมวลผลของอะไร
    ก. แพ็กเก็ต *
    ข. ข้อมูล
    ค. เส้นทาง
    ง.ผิดทุกข้อ
    13. IPv6 มีขนาดของ address คือกี่ไบต์
    ก. 16 ไบต์ *
    ข. 17 ไบต์
    ค. 18 ไบต์
    ง. ถูกทุกข้อ
    14. การเคลื่อน IPv6 packet จาก segment หนึ่งไปอีก segment หนึ่งมีความง่ายขึ้นด้วยโครงสร้างการค้นหาเส้นทางใด
    ก. แบบลำดับชั้น
    *ข. แบบลำดับชั้น 1
    ค. แบบลำดับชั้น 2
    ง. แบบลำดับชั้น 3
    15. การขอหมายเลข IP Address จะต้องไปจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาค หรือที่เรียกว่า
    ก.RIR *
    ข. RIO
    ค. RIN
    ง. RID
    16. RIR ย่อมาจาก
    ก.(Regional Internet Registrey)
    ข.(Regional Internet Registreey)
    ค.(Regional Internet Registessy)
    ง.(Regional Internet Registry) *
    17.การเชื่อมต่อแบบ Native IPv6 ภายในประเทศระหว่างกี่องค์กรหลัก

    ก. 3 องค์กรหลัก *
    ข. 4 องค์กรหลัก
    ค. 5 องค์กรหลัก
    ง. 6 องค์กรหลัก
    18.โดยเครือข่ายต้นทางและปลายทางเป็นการใช้งาน IPv6 ทั้งหมด (ปราศจาก IPv4) เราเรียกการเชื่อมต่อลักษณะนี้ว่า

    ก. IPv6-nativetinge network
    ข. IPv6-nativeping network
    ค. IPv6-nativegrs network
    ง. IPv6-native network *
    19. ประเทศในทวีปเอเชีย และทวีปอะไรมีความตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนเครือข่ายมากกว่าประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ

    ก. ยุโรป *
    ข.อเมริกาใต้
    ค.อเมริกา
    ง.ถูกทุกข้อ
    20. รัฐบาลประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ต่างให้การสนับสนุนและผลักดันภาคเอกชน ให้หันมาให้บริการ IPv6 ในด้านใดมากขึ้น

    ก. เชิงพาณิชย์
    ข.เทคโนโลยี
    ค.เรือ
    ง.เครื่องบิน

    21.ขอใดเป็นการแบ่งประเภทของ IPV 6
    ก.ขอมูล

    ข. เทเบิล
    ค.การจัดการโลแบคเซกเมนต์
    ง.ถูกทุกข้อ *

    22.IP address จะใช้เลขฐานสองจำนวน 32 bits จะแบ่งออกเป็นกี่ชุด ในการแสดงให้เราเห็นเป็นเลขฐานสิบ
    ก. 2 ชุด

    ข. 3 ชุด
    ค.4 ชุด*
    ง.5 ชุด

    23. Traffic Class
    ก. ใช้ระบุว่าแพ็กเก็ตนี้อยู่ในกลุ่มใดและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่เพื่อที่เราเตอร์จะจัดลำดับขั้นการส่งแพ็กเก็ตให้เหมาะสม

    ข. ใช้ระบุลักษณะการไหลเวียนของทราฟฟิก ระหว่างต้นทางกับปลายทาง
    ค.ใช้เป็นตัวบอกว่า extended header ตัวถัดไปเป็นเฮดเดอร์ประเภทไหน
    ง.ไม่มีข้อใดถูก

    24. Flow label
    ก. ใช้ระบุว่าแพ็กเก็ตนี้อยู่ในกลุ่มใดและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่เพื่อที่เราเตอร์จะจัดลำดับขั้นการส่งแพ็กเก็ตให้เหมาะสม

    ข. ใช้ระบุลักษณะการไหลเวียนของทราฟฟิก ระหว่างต้นทางกับปลายทาง*
    ค.ใช้เป็นตัวบอกว่า extended header ตัวถัดไปเป็นเฮดเดอร์ประเภทไหน
    ง.ไม่มีข้อใดถูก

    25.อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่
    ก. ตัวเครื่อง

    ข. รหัสเครื่อง
    ค.ไอพีแอดเดรส*
    ง. ซอฟแวร์

    26.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์จากการใช้บริการ ADSL
    ก. ท่านสามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก
    ข. ท่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วเป็น 140 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา

    ค.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกปิดเมื่อมีการใช้งานมากเกินไป*
    ง.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกเปิดอยู่เสมอ (Always-On Access)
    27. Full-Rate ADSL
    ก.เป็น ADSL ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารได้สูงถึง 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ขณะที่กำลัง Download ความเร็วขนาดนี้ คิดเป็น 25 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ขนาด 56K และคิดเป็น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem ความเร็ว 28.8K

    ข. เป็นผู้ให้บริการ ADSL สามารถให้บริการ ที่ความเร็วต่ำขนาด 256K ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ
    ค.การจัดการโลแบคเซกเมนต์ง.เป็น ADSL ที่มีศักยภาพในการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสาร ที่ความเร็ว 8 เมกกะบิต ต่อวินาที *
    28. G.Lite ADSL
    ก.เป็น ADSL ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารได้สูงถึง 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ขณะที่กำลัง Download ความเร็วขนาดนี้ คิดเป็น 25 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ขนาด 56K และคิดเป็น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem ความเร็ว 28.8K *

    ข. เป็นผู้ให้บริการ ADSL สามารถให้บริการ ที่ความเร็วต่ำขนาด 256K ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ
    ค.การจัดการโลแบคเซกเมนต์ง.เป็น ADSL ที่มีศักยภาพในการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสาร ที่ความเร็ว 8 เมกกะบิต ต่อวินาที
    29.วงจรของ ADSL จะเชื่อมต่อ ADSL Modem ที่ทั้งสองด้านของสายโทรศัพท์ ทำให้มีการสร้างช่องทางของข้อมูลข่าวสาร ได้กี่ช่องทาง
    ก. 2 ช่อง

    ข. 3 ช่อง*
    ค.4 ช่อง
    ง.5 ช่อง
    30. CAP จะแบ่งสายโทรศัพท์ออกเป็นกี่ส่วน
    ก. 2 ส่วน

    ข. 3 ส่วน*
    ค.4 ส่วน
    ง.5 ส่วน
    หมายเหตุ : เมื่อเครื่องหมาย * อยู่ด้านหลังข้อไหนข้อนั้นเป็นข้อที่ถูกต้องที่สุด

    วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

    Routing Protocol

    Routing Protocol
    คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย
    ตัวอย่าง Routing Protocol
    RIP (Routing Information Protocol)
    OSPF (Open Shortest Path First)
    IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) (Cisco Proprietary)
    EIGRP (Enhanced Interior Gateway Routing Protocol) (Cisco Proprietary)
    BGP (Border Gateway Protocol)

    วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

    ข้อสอบ 5 ข้อ เรื่อง Topology

    ที่มาของแหล่งข้อมูล http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

    1.Topology แบ่งออกเป็นกี่แบบ
    ก. 5 แบบ ข. 6 แบบ
    ค. 7 แบบ ง. 8 แบบ
    เฉลย 5 แบบ ได้แก่ 1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) 2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
    3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) 4.โทโปโลยีแบบ Hybrid 5.โทโปโลยีแบบ MESH

    2. โทโปโลยีแบบบัส มีข้อดีอย่างไร
    ก. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยาย
    ข. สามารถขยายระบบได้ง่าย
    ค. เสียค่าใช้จ่ายน้อย
    ง. ถูกทุกข้อ
    เฉลย ถูกทุกข้อ เพราะโทโปโลยีแบบบัสมีข้อดีคือ ข้อดี
    - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก

    3. โทโปโลยีแบบวงแหวนหรือแบบ RING มีข้อดีอย่างไร
    ก. ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
    ข. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูล
    ค. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
    ง. ไม่มีข้อถูก
    จ. ถูกทั้งข้อ ก ข ค

    เฉลย ข้อ จ เพราะโทโปโลยีแบบ RING มีข้อดีคือ- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
    - การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
    - คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

    4. โทโปโลยีแบบ STAR มีหน้าที่อย่างไร
    ก. เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
    ข. เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
    ค. คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่งและผู้รับ
    ง. ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ข้อ ก. โทโปโลยีแบบSTAR มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

    5. โทโปโลยีแบบ HIBRID มีการผสมผสานระหว่างระบบอะไรบ้าง
    ก. ทั้ง 5 ระบบ
    ข. ระบบบัส ระบบริง ระบบสตาร์
    ค. ระบบริงกับระบบบัส
    ง. ไม่มีข้อถูก
    เฉลยข้อ ข เป็นการรวมกันของระบบบัส ระบบริง และระบบสตาร์

    ETHERNET

    ETHERNET
    อัตราความเร็ว 10 Mbps
    อัตราความเร็ว 100 Mbps
    อัตราความเร็ว 1000 Mbps
    อัตราความเร็ว 10 Gbps
    บางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3uซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3abซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3aeซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้นETHERNETมาตรฐาน การเชื่อมต่ออัตราความเร็ว การรับส่งข้อมูลระยะความยาว ในการรับส่งข้อมูลTopology ที่ใช้สายที่ใช้ Cableชื่อเรียก10base210 Mbps185 - 200 เมตรBUSThin CoaxialThin Ethernet หรือ Cheapernet10base510 Mbps500 เมตรThick CoaxialThick Ethernet10baseT10 Mbps100 เมตรSTARTwisted Pair (UTP)10baseF10 Mbps2000 เมตรFiber
    Optic100baseT100 Mbps......... เมตรTwisted Pair (UTP)Fast Ethernet

    รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)

    โทโปโลยี
    คือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
    1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
    สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
    ข้อดี
    - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
    ข้อเสีย
    - อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
    - การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
    2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
    ข้อดี
    - ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
    - การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
    - คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
    ข้อเสีย
    - ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
    - ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
    3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
    ข้อดี
    - การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
    ข้อเสีย
    - เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
    4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
    5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
    ประเภทของระบบเครือข่าย Lan ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงาน
    ในการแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่การเชื่อมต่อแบบ Peer - To - Peer และแบบ Client / Server
    1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี

    2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client
    ประเภทของระบบเครือข่ายมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็คือ การเชื่อมต่อแลนแบบไร้สาย Wireless Lan แลนไร้สาย WLAN เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เหมาะที่จะใช้ได้ทั้งเครื่องพีซีตั้งโต๊ะธรรมดา และเครื่อง NoteBook ซึ่งการส่งสัญญาณติดต่อกันนั้น จะใช้สัญญาณวิทยุเป็นพาหะ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลก็จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางยิ่งไกล ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ทำให้ช้าลงไปด้วย แลนไร้สายเหมาะที่จะนำมาใช้กับงานที่ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อย่างเช่นพวก เครื่อง NoteBook เพียงแต่มีอินเตอร็เฟสแลนแบบไร้สาย ก็สามารถเคลื่อนที่ไปที่ใดก็ได้ภายในของเขตของระยะทางที่กำหนด อย่างเช่นภายในตึกได้ทั่วตึกเลยที่เดียว จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีดังนี้
    - การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
    - การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
    - การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
    - เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
    - มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
    มาตราฐานของ Wireless Lan นั้นตามมาตรฐานสากล 802.11 มีอัตราการส่งสัญญาณข้อมูลได้สูงสุด 11 เมกะบิตต่อวินาที ระยะทางการรับส่งสัญญาณขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าออกแบบมาอย่างไร ถ้าเป็นการใช้ภายในอาคารสถานที่ ก็จะใช้สายอากาศแบบทุกทิศทาง จะได้ระยะทางประมาณ 50 เมตร แต่ถ้าเป็นการใช้กันแบบจุดต่อจุดหรือนอกสถานที่ ก็จะมีการออกแบบให้ใช้สายอากาศแบบกำหนดทิศทาง ให้ได้ระยะทางมากกว่า 10 กม.ได้
    Lan Protocol - Ethernet
    Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ และ การใช้ Topology ก็จะแตกต่างกันออกไป ดังแสดงตามตารางดังนี้
    มาตรฐาน
    ความเร็วการรับส่งข้อมูล
    ชนิดของสายสัญญาณ
    รูปแบบของ Topology
    ARCnet
    2.5 Mbps
    Coaxial , UTP
    Star , Bus
    Token Ring
    4 หรือ 16 Mbps
    UTP , STP
    Ring , Star
    Ethernet
    10 Mbps
    Coaxial , UTP
    Bus , Star
    ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะโปรโตคอล Ethernet เท่านั้น ซึ่งโปรโตคอลของ Ethernet นี้ จะอยู่ในมาตรฐานของ IEEE 802.3 โดยได้รับการออกแบบโดย Xerox ในปี 1970 เป็นเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbps แต่ในในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet ดังนี้
    ETHERNET
    อัตราความเร็ว 10 Mbps
    อัตราความเร็ว 100 Mbps
    อัตราความเร็ว 1000 Mbps
    อัตราความเร็ว 10 Gbps
    บางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802.3
    ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3u
    ซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3ab
    ซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ae
    ซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่
    จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้น
    ETHERNET
    มาตรฐาน การเชื่อมต่อ
    อัตราความเร็ว การรับส่งข้อมูล
    ระยะความยาว ในการรับส่งข้อมูล
    Topology ที่ใช้
    สายที่ใช้ Cable
    ชื่อเรียก
    10base2
    10 Mbps
    185 - 200 เมตร
    BUS
    Thin Coaxial
    Thin Ethernet หรือ Cheapernet
    10base5
    10 Mbps
    500 เมตร

    Thick Coaxial
    Thick Ethernet
    10baseT
    10 Mbps
    100 เมตร
    STAR
    Twisted Pair (UTP)

    10baseF
    10 Mbps
    2000 เมตร

    Fiber Optic

    100baseT
    100 Mbps
    ......... เมตร

    Twisted Pair (UTP)
    Fast Ethernet

    วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

    ระบบเครือข่าย

    ระบบเครือข่าย
    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปการที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลงการโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้[แก้] ชนิดของเครือข่ายเครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกันเครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตรเครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือเครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สายอุปกรณ์ในระบบระบบเครือข่ายฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้นสวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge) เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลง และติดตั้งง่ายเร้าเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้ายสวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อระบบที่ใช้สื่อหรือสายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN)ที่ส่งข้อมูลแบบยูทีพี (UTP:Unshield Twisted Pair) เข้ากับอีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล(Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือกหรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่ง แน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้นเกทเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วยกันตัวอย่างเทคโนโลยีกับระบบเครือข่ายโฮมเน็ตเวิร์ก โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต การเรียนการสอนทางไกล: Tele-Education ฯลฯโฮมเน็ตเวิร์ก โฮมเน็ตเวิร์ก เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้น ภายในบ้านไม่ว่าจะเป็น ทีวี วิทยุ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ หรือ เครื่องทำน้ำอุ่น ให้เป็นระบบเครือข่ายหลายคนอาจสงสัยว่า แล้วทำไมถึงมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น มาเกี่ยวด้วย เพราะดูแล้วมันไม่น่าจะนำมาต่อ เป็นเครือข่ายเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้เลยแนวคิดโฮมเน็ตเวิร์ก คือ การทำให้อุปกรณ์ทุกชิ้นภายในบ้าน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ และสามารถรับคำสั่งจากระยะไกลได้ โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง พูดง่ายๆก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เครื่องใช้ทุกอย่างในบ้านมีความฉลาด ซึ่งจะช่วยและอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้มากที่สุด ขอยกตัวอย่างเพื่อช่วยในการนึกภาพ ของโฮมเน็ตเวิร์กได้ชัดขึ้น เช่น ก้าวแรกที่คุณลุกขึ้นจากเตียงนอน ทันทีเจ้าวิทยุคู่ใจ ก็เริ่มบรรเลงเพลงโปรด ระหว่างที่คุณกำลังมีความสุข อยู่กับการแช่น้ำอุ่นๆ จากเครื่องทำน้ำอุ่น ในอ่างอาบน้ำ ที่เตรียมไว้พร้อมสรรพ ตู้เย็นก็จัดการส่งขนมปัง ไข่ และไส้กรอกไปยังเตาไมโครเวฟ เพื่อปรุงไว้พร้อมเสริฟในครัว แค่นี้ก็ทำให้การเริ่มวันใหม่ของคุณ เป็นไปอย่างราบรื่นและไม่ต้องรีบเร่ง ฟังดูอาจเกินจริงไปบ้าง แต่ขอบอกว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นแนวคิดของโฮมเน็ตเวิร์กนั่นเองหากต้องทำให้อุปกรณ์ทุกอย่างที่อยู่ในบ้านเชื่อมต่อเป็นระบบเดียวกัน จำเป็นต้องมีมาตรฐานมารองรับเพื่อให้ผู้ผลิตต่างๆ ผลิตสินค้าของตนให้สามารถเชื่อมต่อกับสินค้ายี่ห้ออื่นๆ ในตลาดได้ ซึ่งมาตรฐานที่ใช้สำหรับโฮมเน็ตเวิร์กที่มีอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11มาตรฐาน Bluetoothมาตรฐาน SWAP 1.0มาตรฐาน X10มาตรฐาน IEEE1394 หรือ FireWireมาตรฐาน HomePNA (Home Phoneline Networking Associationมาตรฐาน SSEQจากมาตรฐานของโฮมเน็ตเวิร์กข้างต้น สามารถแบ่งประเภทของโฮมเน็ตเวิร์ก ได้สองประเภทใหญ่ๆ คือ แบบมีสาย(Wired Homenetwork) และแบบไร้สาย (Wireless Homenetwork)โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ไม่หยุดนิ่ง ทำให้ทุกวันนี้มีบริการไฮเทคเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ให้ผู้คนได้เลือกใช้ตามความต้องการ และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่มีการเรียกชื่อที่ต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น Internet Telephone, Net Phone, Voice over Internet Protocal, Voice over IP, VoIP หรือ Web Phone ซึ่งล้วนแต่หมายถึง บริการที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการสื่อสารพูดคุย แทนเครื่องโทรศัพท์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้PC-to-PC วิธีนี้ผู้ใช้ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งต้นทาง-ปลายทาง และต้องลงโปรแกรมเดียวกัน หรือโปรแกรมที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งเป็นวิธีสื่อสาร ที่ไม่ต้องเสียค่าบริการโทรศัพท์แต่อย่างใดPC-to-Phone เป็นรูปแบบที่ใช้ได้ กับผู้ใช้ต้นทางที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมโทรศัพท์ โดยผู้รับปลายทางใช้เครื่องโทรศัพท์ธรรมดา วิธีนี้จำเป็นต้องมีผู้ที่ให้บริการ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ท้องถิ่น (Internet Telephone Service Provider หรือ ITSP) โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าบริการ ตามเวลาที่ใช้จริงPhone-to-PC วิธีนี้ใช้หลักการเดียวกับแบบPC-to-Phone แต่เปลี่ยนเป็นต้นทางเป็นโทรศัพท์ธรรมดา ในขณะที่ปลายทางเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมโทรศัพท์แทน ซึ่งผู้ใช้ต้องเสียค่าบริการ ตามเวลาที่ใช้จริงเช่นกันPhone-to-Phone เป็นวิธีที่ทั้งต้นทาง และปลายทางต้องมี ITSP ซึ่งทำให้มีค่าบริการสูงกว่าวิธีอื่นๆ แต่ก็เป็นวิธีที่ง่าย และคุ้นเคยกับการใช้งานที่สุด อุปกรณ์เสริมที่จำเป็น สำหรับบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ผู้ใช้ต้องซื้อหาเพิ่มเติม จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามีอยู่แล้ว ก็คือ ซาว์ดการ์ด ลำโพง ไมโครโฟน หูฟัง หรือหูฟังพร้อมไมโครโฟน เอียร์คลิป แฮนด์เซท กล้องวิดีโอ และอุปกรณ์สลับสายระหว่างลำโพงกับเฮดเซทสิ่งที่น่าจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้คน หันมาใช้บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต เห็นจะได้แก่ อัตราค่าบริการที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับการโทรทางไกล ผ่านโทรศัพท์ธรรมดา โดยผู้ใช้จะเสียเฉพาะค่าโทรศัพท์ ในอัตราแบบ โทรภายในพื้นที่เท่านั้น เพราะการโทรทางไกล จะเรียกผ่าน ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน ซึ่งช่วยผู้ใช้ประหยัดเงิน ในกระเป๋าได้มากทีเดียวการเรียนการสอนทางไกล ระบบการศึกษานอกโรงเรียน เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ และจำเป็นอย่างมากในประเทศกำลังพัฒนา การกระจายเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการศึกษา ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน และสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ กำลังได้รับการยอมรับมากที่สุด จากสถาบันการศึกษาคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต ที่ในรูปของ Tele-Education หรือการเรียนการสอนทางไกลความรวดเร็วของในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยลดข้อจำกัดในการศึกษานอกสถานที่ เพราะไม่ว่าผู้เรียนจะอยู่ที่ใด ก็สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันอินเทอร์เน็ต สามารถทำให้เกิดการโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เสมือนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน รูปแบบของการเรียนการสอนทางไกล ที่ได้รับความนิยม ทำได้ทั้งการสร้างเครือข่ายการเรียนการสอน โดยมีศูนย์อยู่ในส่วนกลาง เพื่อผลิตเนื้อหาส่งผ่านอุปกรณ์ส่งสัญญาณ กระจายผ่านเครือข่ายเคเบิ้ลนำแสง หรือใช้ดาวเทียมยิงสัญญาณไปยังเครื่องรับทางไกลก็ได้ นอกจากนี้สามารถนำเอาห้องเรียนไปไว้บนอินเทอร์เน็ต โดยมีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการเรียน ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยการสอนทางไกล ที่ทำให้เว็บเพจกลายเป็นแหล่งความรู้ การเรียนทางไกล ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาวิชาที่มีความสนใจ และต้องการหาความรู้เพิ่มเติม สามารถทบทวนบทเรียน หรือเรียนซ้ำ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา